บทความโดย Tiddoi
ผมเขียนเรื่องกู้คอนโดมาแล้ว 3 ตอน จริงๆ ก็ดูเหมือนจะครอบคลุมแล้ว แต่ก็ยังมีอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ดูเหมือนอาจจะไม่ใช่กลุ่มแฟนเพจของเรา (หรือเปล่า? อิอิอิ) นั่นก็คือ กลุ่มที่เป็นหุ้นส่วนใน “บริษัทจำกัด” นั่นเอง
ในความรู้สึกของผมเอง ผมคิดว่าคนที่อยู่ในกลุ่มนี้น่าจะ “รวย” นะครับ เป็นเหตุผลให้ผมคิดว่าการกู้ซื้อคอนโดอาจจะไม่ใช่ปัญหา ซึ่งคำว่าไม่ใช่ปัญหาหมายถึง “ไม่ต้องกู้” หรือ “กู้ไม่ยากอยู่แล้ว”
แต่เอาล่ะ ไหนๆ จะเขียนแล้ว ก็ให้ครบทุกกลุ่มไปเลย
ก็ออกตัวก่อนว่า ผมเองก็ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้นะครับ ข้อมูลส่วนนี้ก็เอามาจากประสบการณ์ของพี่ๆ ที่รู้จักกันเล่าให้ฟัง
จริงๆ แล้วการจะขอเงินกู้อะไรก็ตามเนี่ย หลักการดั้งเดิมก็คือ หาหลักฐานมาบอกผู้ให้กู้ (ธนาคาร) ว่า เรามีรายได้อย่างไร และพร้อมจะจ่ายคืนได้อย่างไร
กรณีเป็นบริษัทจำกัด ทางธนาคารจะต้องขอดู “สัดส่วนของการถือหุ้น” ว่าเราถืออยู่เท่าไหร่ก็ง่ายๆ ครับ
สมมติ บริษัทมีกำไรสุทธิปีละ 100 ถ้าเรามีหุ้น 50% แสดงว่าเราก็จะมีรายได้จากบริษัทปีละ 50 จากนั้นเค้าค่อยเอาหาร 12 เพื่อคิดเป็นรายเดือนต่อไป
แต่ทีนี้ สมมติเราเองเป็นผู้บริหารในบริษัทนี้ด้วย และก็ได้ผลตอบแทนเป็นเงินเดือน เราก็สามารถแสดงหลักฐานในส่วนนี้เพื่อเพิ่มเป็นรายรับของเราได้
ตัวอย่างเช่น
เราเปิดบริษัทแห่งหนึ่ง สมมติชื่อ บริษัท คอนโดติดดอย จำกัด โดยถือหุ้นบริษัท 30% โดยเราทำหน้าที่เป็นกรรมการผจก.ใหญ่ ได้รับเงินเดือนในฐานะผู้บริหาร 50,000 บาท/เดือน และสมมติว่าเราบริหารได้เก่งมาก ทำให้บริษัทได้กำไรสุทธิตอนปลายปีจำนวน 3 ล้านบาท
รายได้ที่เราสามารถแสดงให้ธนาคารเห็นก็คือ
ภาษีเกี่ยวอย่างไร?
ก็หลักฐานการชำระภาษีอย่างไรเล่า ซึ่งนั่นแหละคือปัญหา เพราะหลายๆ บริษัท “มักจะ” ไม่ได้ใช้งบจริงในการยื่นเพื่อเสียภาษี ..... จริงไหมครับท่านผู้อ่าน? อิอิอิ
บรรทัดข้างบน เขียนไปเสียวไปนะครับ ฮ่าฮ่าฮ่า แต่ไหนๆ เขียนแล้ว ก็เขียนให้สุด
ดังนั้นหลักฐานการเสียภาษี จึงอาจจะไม่ได้สะท้อนรายได้ที่แท้จริงของบริษัท ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับธนาคารแล้วล่ะว่าเค้าจะเชื่อ“งบ” ไหน
บางธนาคารทื่ Conservative ก็อาจจะยืนพื้นจากหลักฐานการเสียภาษีไว้ก่อน แต่บางธนาคาร (โดยเฉพาะธนาคารที่เราเดินบัญชีผ่านเค้าเลย) ก็อาจจะนำเอาจำนวนเงินที่เดินบัญชีมาพิจารณาร่วมกันก็เป็นไปได้
การกู้ในฐานะหุ้นส่วนของบริษัท จะถือว่าดีก็ดี เพราะเราสามารถนำรายได้ทั้ง 2 ส่วน (เงินเดือน+เงินปันผล) มารวมกันได้ แต่ข้อเสียก็คือวิธีการตรวจสอบของธนาคารก็อาจจะเข้มข้นหน่อย โดยเฉพาะถ้าบริษัทของเราไม่ได้เป็นที่รู้จักมากนัก (ต่อให้จะทำกำไรได้มากจริงๆ ก็ตาม)
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เขียนมาทั้งหมด ก็ยังอิงที่หลักการเดิมนะครับ คือหา "หลักฐาน" มาบอกธนาคารให้ได้ว่าเรามีรายได้ และมีความสามารถในการผ่อนชำระคืนได้ตามที่ตกลงกันไว้
สิ่งที่ผมเขียนไว้ข้างบนก็เตรียมให้ครบ เตรียมให้พร้อม ขาดอะไรก็บอกเจ้าหน้าที่ไปตรงๆ ครับ เค้าจะได้รับรู้ไว้ก่อน และจะได้หาทางช่วยเราอีกทาง แต่สุดท้ายแล้ว ก็อย่างที่บอกนะครับ
ถ้าเราพยายามอย่างเต็มที่แล้ว ยังไม่ได้รับเงินกู้ ก็แสดงว่า “เรายังไม่พร้อมที่จะกู้” ครับ อย่าฝืนเลย เอาไว้ให้พร้อมจริงๆ ดีกว่า เป็นผลดีทั้งกับเราและธนาคารด้วย
อยู่อย่างพอเพียงครับ