ในสมัยโบราณนั้น เราจะทราบกันดีว่าประเทศไทย จะใช้สิ่งของมีค่าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหรือที่เรียกว่าเงินที่ได้จากธรรมชาติเป็นส่วนมาก อย่างเช่นเปลือกหอย พดด้วง และต่อมา พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างโรงงานทำเหรียญโดยใช้ทองแดงและดีบุกเป็นส่วนผสมแต่เนื่องจากดีบุกและทองแดงมีมูลค่าที่มากกว่ามูลค่าหน้าเงิน จึงทำให้ประชาชนนำมาหลอมใหม่แล้วส่งไปขายยังต่างประเทศทำให้เหรียญเกิดการขาดแคลน จึงให้ใช้กระดาษแทนแต่กระดาษที่ทำสมัยนั้นไม่มีคุณภาพเปื่อยยุ้ยง่าย เป็นกระดาษที่พิมพ์หน้าเดียวมีขนาด 9.3 X 15 เซนติเมตร 80 ปอนด์ จึงไม่ได้รับความนิยมในช่วงนั้น
กระดาษที่ใช้ในธนบัตร
กระดาษที่มีความเหนียวและทนทานนั้นจะต้องเป็นกระดาษที่มีความทนทานซึ่งมีการพบว่าเยื้อเซลลูโลสบริสุทธิ์โดยไม่มีสารอื่นมาเจือปน จึงทำให้ต้องการวัสดุที่ให้เยื้อเซลลูโลสบริสุทธิ์ ได้จากลินินและฝ้าย เนื่องจากวัสดุอย่างอื่นมีการเจือป่นและทั้งสองอย่างนี้ หรือสามารถนำอย่างอื่นมาแล้วลดสารอย่างอื่นลดลงไปทำให้คุณภาพที่นำมาผลิตกระดาษเพิ่มขึ้นหรือมีการเซลลูโลสเข้าไปเพิ่ม ถ้าเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์มีเยื้อเซลลูโลสที่น้อย เริ่มแรกในการผลิตนั้นมีการทำสอบด้วยการผับและจะมีค่าความเหนียวและความทนเป็นการกำหนด อย่างเช่นหนังสือพิมพ์มีค่าเพียง 20 ธนบัตรควรมี 2,00 ขึ้นไปยิ่งมีค่าสูงยิ่งมีความเหนียวและทนทานมากขึ้น กระดาษธนบัตรจึงต้องการความเหนียวและทนทานเป็นพิเศษเพราะมีการใช้งานที่หนักกว่ากระดาษทั่วไป ต้องฉีกยาก โดนน้ำไม่เป็นไร
การพิมพ์และหมึกที่ใช้ในการพิมพ์
การพิมพ์และหมึกที่พิมพ์ในธนบัตรนั้นต้องการความคมชัดละสามารถเก็บรายละเอียด นอกจากนั้นยังจะสามารถกันน้ำไม่จางง่าย การพิมพ์ที่นิยมใช้มายังปัจจุบัน เว็กอ๊อฟเซต เป็นการนำเอาดินสอสีเทียน มาฝนที่หินเรียบแล้วทำให้ชุ่มน้ำ แล้วจึงนำกระดาษมาทับที่หน้าของหิน ทำให้ภาพมีความคมชัดขึ้นมา หลักก็คือหมึกและน้ำจะไม่เข้ากัน เพราะหมึกเป็นน้ำมันจึงทำให้มีความคมเพราะไม่ได้ผสมกับน้ำที่กระดาษนั้นเอง จึงได้รับความนิยมในการพิมพ์ธนบัตร
ธนบัตรในประเทศไทย
ดังที่กล่าวได้ในข้างต้นเมื่อมีการใช้กระดาษแต่เริ่มต้นนั้นไม่ได้รับความนิยมเพราะคุณภาพของกระดาษ ทางประเทศไทยจึงได้ขอความช่วยเหลือจากประเทศอังกฤษ จึงได้ผู้เชี่ยวชาญในการพิมพ์และกระดาษ คือบริษัทโทมาสเดอลารู และได้มีกฎหมาย พรบ. ธรบัตร ร.ศ. 121 นับตั้งแต่นั้นมาก็มีการประกาศใช้ธนบัตรเป็นครั้งแรกแต่ได้มาสะดุดในสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจากทางโรงของบริษัท โทมาสเดอรู ได้รับความเสียหายมาก จึงได้ให้ทางบริษัทญี่ปุ่นและทางอเมริกา รวมถึงการผลิตเองในประเทศเพื่อเพียงพอต่อการใช้ ซึ่งผมขอแบ่งการผลิตเป็นยุคๆไป
ยุคที่ 1 พิมพ์โดยบริษัท โทมาสเดอรู ได้เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยมากในขณะนั้นแต่ยังสามารถปลอดแปลงได้ง่าย ใช้ฝ้ายและลิลินมาทำเป็นกระดาษ
ยุคที่ 2 เป็นบริษัทเดิมในการผลิตโดยใช้การพิมพ์ให้เป็นแบบนูนขึ้นมาทำให้เกิดการปลอดได้ยากกว่าเดิมและในช่วงเดียวกัน เป็นสงครามโลกครั้งที่สอง 2 โรงพิมพ์ได้รับความเสียหายอย่างหนักรัฐบาลไม่สามารถหากวัสดุการพิมพ์ได้จึงได้หาวัสดุที่หาได้มากให้มากและดีที่สุด จึงมีโรงงานผลิตกระดาษที่ทำจากอ้อยและไผ่เป็นหลักที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งใช้อ้อยจึงมีความขาวแต่อ้อยหมดจึงใช้ฟางข้าวและมีความคล้ำมากการผลิตในตอนนั้นไม่มีคุณภาพมีเยื้อกระดาษที่ไม่ละเอียด สำหรับการพิมพ์พิมพ์ที่กรมแผนที่ทหารและโรงพิมพ์เอกชนร่วมกัน และมีการปลอดกันเยอะ
ยุคที่ 3 เป็นการผลิตจากทางญี่ปุ่นทางบริษัท มิตซุยบุตชนโกซา ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบเดียวกับ บริษัท โทมาเดอรู แต่ใช้กระดาษจากป่านมิตซูมาตา เป็นกระดาษที่มีความเหนี่ยวและทดทาน เป็นกระดาษที่ผลิตได้ที่เดียวในประเทศญี่ปุ่น
ยุคที่ 4 ใน พ.ศ. 2489 ได้ให้สหรัฐอเมริกา ในการพิมพ์แต่เนื่องจากมีการพิมพ์มีการปลอดแปลงเยอะจึงได้ยกเลิกในเวลาต่อมา
ยุคที่ 5 บริษัท โทมาสเดอรู ได้ปรับปรุงโรงพิมพ์เสร็จก็เริ่มการพิมพ์อีกครั้ง และได้พิมพ์แบบนูน
ยุคปัจจุบัน ทางรัฐได้ทำการพลักดันให้มีการใช้โรงพิมพ์เป็นของตัวเอง ในวันที่ 24 มิถุนายน 2512 ได้รวบรวมฝีมือและช่างเข้ามาร่วมพิมพ์ธนบัตร จึงใช้เอกลักษณ์ของไทยเป็นหลักเพราะที่ผ่านมาลวดลายที่ใช้ไม่ละเอียดมีการปลอดได้ง่าย ใช้ข้อดีของทางความสามารถที่มีนี้เองจึงใช้นโยบายให้ใช้ลายไทยที่มีความอ่อนช้อย เป็นการยากในการปลอดแปลง
การพัฒนาในการพิมพ์ธนบัตรได้มีการพัฒนาไปมากจนไม่สามารถปลอดแปลงได้เนียน ใช้กระดาษที่ทำมาจาก ฝ้ายและลินิน ใช้การพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังมีการพิมพ์แบบนูนใช้พื้นที่ของทุกบริเวณในกระดาษ มีหลายสี มีแถบสะท้อนแสงให้มีความมันวาว มีเทคนิคการสะท้อนแสงด้วยพายน้ำ มีการทำหมึกมากจากกระบก ต้นไม้ทางภาคอีสาน มาเห็นน้ำหมึกซึ่งมีคุณสมบัติละลายด่างได้จึงทำให้มีความชัดเจนได้มาก