การมีบ้านเป็นของตนเองหนึ่งหลัง เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก จำเป็นต้องมีการวางแผน ทั้งแผนการเงิน แผนการงาน และแผนการใช้ชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่ซื้อบ้านผ่านการกู้ยืมธนาคาร ปกติแล้วระยะเวลาการผ่อนมีความยาวนาน 20-30 ปี ยิ่งระยะเวลาผ่อนนาน ยิ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ เพราะปีนี้กับ 20 ปีข้างหน้า ชีวิตของเราอาจไม่ได้สดใสอย่างปัจจุบันก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น ผู้อ่านท่านใดที่กำลังคิดจะซื้อหรือสร้างบ้าน มาสำรวจความพร้อมและวิธีวางแผนการเงินเพื่อให้บ้านของเรา เป็นบ้านของเราเองอย่างแท้จริง ไม่เสี่ยงต่อการถูกยึดครับ
ราคาบ้านมีให้เลือกตั้งแต่หลักแสน จนกระทั่งหลายสิบล้าน การซื้อบ้านไว้อยู่อาศัย ผู้ซื้อจำเป็นต้องตรวจเช็ครายได้และค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน เพื่อที่จะสามารถคำนวณเงินผ่อนบ้านแต่ละเดือนได้ วิธีคำนวณที่นิยมใช้กันเบื้องต้น
ตัวอย่าง นายเอ มีรายได้เดือนละ 25,000 บาท พร้อมกับภรรยามีรายได้เดือนละ 18,000 บาท รายได้ต่อปีของครอบครัวรวมเป็น 515,000 บาท เมื่อนำไปคูณกับ 2.5 ราคาบ้านที่เหมาะสมประมาณ 1.29 ล้านบาท
กรณีนี้ เมื่อต้องการขอสินเชื่อ ธนาคารอาจอนุมัติประมาณ 80% ของราคาบ้าน หากผู้กู้เลือกผ่อน 20 เดือน จะผ่อนชำระเดือนละ 7,000 บาท โดยประมาณ ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้แล้ว เงินจำนวนนี้ หากไม่มีหนี้หรือภาระอื่นเสริมมากนัก สามารถผ่อนได้อย่างสบายใจครับ ทั้งนี้การคำนวณดังกล่าว เป็นเพียงตัวเลขเบื้องต้น สำหรับท่านที่มีเงินเก็บสำรองก็สามารถนำเงินเก็บมาบวกเพิ่มในราคาบ้านได้เช่นกัน
เทคนิคนี้ต้องขอบอกเลยว่า ได้ผลดีอย่างมาก เมื่อผู้อ่านคำนวณราคาบ้านที่เหมาะและค่างวดเงินผ่อนชำระแต่ละเดือนได้แล้ว อย่าเพิ่งรีบร้อนด่วนตัดสินใจ ลองทดสอบวินัยและสภาพคล่องทางการเงินกันสักระยะ ประมาณ 6 – 12 เดือน วิธีการก็คือ ให้นำเงินค่างวดไปฝากไว้กับธนาคาร อาทิ ค่างวดผ่อนบ้านเดือนละ 7,000 บาท นำเงิน 7,000 บาท เข้าบัญชีทุก ๆ เดือน ห้ามถอนออก
6 เดือนผ่านไป หากการฝากบัญชีแต่ละครั้ง ไม่มีความล่าช้า ไม่มีความรู้สึกว่าเงินไม่พอใช้ หากเป็นเช่นนี้อาจหมายถึง สภาพทางการเงินคล่องตัว เพียงพอที่จะจ่ายเงินผ่อนให้กับค่าบ้านได้อย่างเต็มที่ แต่หากการซ้อมมือครั้งนี้ มีข้อติดขัดบางประการ อาจหมายถึงว่า คุณยังไม่เหมาะสมสำหรับการผ่อนบ้านระยะยาวมีความเสี่ยงที่บ้านจะถูกยึดในอนาคตได้
เทคนิคนี้นอกจากจะช่วยทดสอบวินัยทางการเงินได้ดี เงินที่เรานำเข้าบัญชีตลอด 6 เดือน ยังสามารถเพิ่มเป็นวงเงินดาวน์ ช่วยให้ดอกเบี้ยลดลงไปอีกด้วยครับ และความรอบคอบนี้ ช่วยให้เรามีระยะเวลาเลือกบ้านนานขึ้น อาจจะได้บ้านที่ราคาดีแต่มีความคุ้มค่ากว่าเดิม ^_^
บ้านหนึ่งหลังไม่ได้มีเพียงแค่บ้าน แต่ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ของตกแต่งบ้านและค่าใช้จ่ายจิปาถะสารพัด เงินที่เตรียมไว้สำหรับดาวน์และผ่อนบ้าน จึงไม่ควรทุ่มทุนหมดทั้งก้อน แต่ให้เก็บออมไว้อีกส่วนแยกออกจากเงินก้อนที่ต้องจ่ายค่าบ้าน ทั้งออมในรูปแบบเงินสดและออมในระยะยาวเพื่อความมั่นคงทางการเงิน สามารถศึกษาข้อมูลการออมเพิ่มเติมได้ที่
ดอกเบี้ยบ้าน มีการคำนวณแบบทบต้น ทบดอก เป็นผลให้ช่วงปีแรก ๆ ของการผ่อนบ้านโดยส่วนใหญ่แล้วเงินที่ผ่อนไป จะไปลงกับดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น วิธีการที่ได้รับความนิยมสูง คือการ “โปะ” นั่นหมายถึงเมื่อผู้กู้มีเงินเหลืออาจได้มาจากรายได้เสริม โบนัส หรือรายได้พิเศษอื่น ๆ หมั่นนำเงินเหล่านี้มาอัดในเงินต้นเพื่อที่จะให้เงินต้นลดลงไวกว่าปกติ เมื่อเงินต้นลดลง ดอกก็ลดลงเช่นกัน แต่ก็อย่ารีบโปะจนกระทั่งตนเองต้องถึงขั้นลำบากนะครับ เน้นแบบพอดี พอดี จะได้อยู่บ้านอย่างสุขใจ
การผ่อนชำระค่าบ้านโดยทั่วไปธนาคารจะมีเงื่อนไขให้สามารถรีไฟแนนซ์ได้เมื่อผ่านการผ่อนชำระไปแล้วตามระยะเวลาที่ธนาคารกำหนด โดยปกติมีระยะเวลาประมาณ 3 – 5 ปี ก่อนทำการรีไฟแนนซ์ ผู้กู้จำเป็นต้องตรวจเช็คโปรโมชั่นของธนาคารต่าง ๆ อย่างน้อย 3 ธนาคาร จากนั้นตรวจดูว่า โปรโมชั่นดังกล่าวสามารถช่วยให้อัตราดอกเบี้ยลดลงได้หรือไม่ รวมทั้งระยะเวลาการผ่อน ค่างวดต่อเดือน ถ้าสรุปรวมแล้วเกิดความคุ้มค่ามากกว่าการผ่อนชำระแบบปกติ แนะนำให้ทำการรีไฟแนนซ์ แต่หากยังไม่เกิดความคุ้มค่าอาจต้องรอโปรโมชั่นอื่น ๆ ที่เหมาะสมกว่า ทั้งนี้การตัดสินใจรีไฟแนนซ์ อย่าลืมนึกถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินการด้วยนะครับ เพราะการรีไฟแนนซ์เปรียบเสมือนการทำเรื่องขอสินเชื่อใหม่นั่นเอง