ประวัติความเป็นมาของ นาฬิกา


ข่าวสาร admin 3 ม.ค. 2561

    นาฬิกาเป็นเครื่องมือในการบอกเวลาในแต่ละวันของเรา  โดยใช้หน่วยเป็น  ชั่วโมง  นาที  วินาที  และมีความจำเป็นมากในการใช้ชีวิตของเราเอง  นาฬิกาจึงอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นที่เราติดไว้ตามฝา  นาฬิกาข้อมือ  และยังนำไปอยู่ในระบบ  มือถือ  คอมพิวเตอร์  เพราะว่าระบบพวกนี้จะต้องมีเวลาในการควบคุม  ไม่มีอะไรที่ระบุหรือแสดงแดงเวลาได้เท่ากับนาฬิกาได้อีก  ถึงแม้อย่างอื่นจะสามารถดูเวลาได้แต่ไม่ละเอียดเท่ากับนาฬิกาได้  ซึ่งสมัยโบราณไม่มีนาฬิกาอาศัยดวงอาทิตย์ในการดูเวลาการกลางวัน  กลางคืนอาจจะใช้ดวงดาวเป็นหลักในการดูเวลา  นาฬิกานั้นมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานนับพันปีกว่าจะมาเป็นนาฬิกาที่เราใช้กันอยู่  เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งแบ่งเป็นยุคดังนี้


ยุคนาฬิกา  ฟ้า

เป็นจุดเริ่มต้นในการใช้ฟ้าและดวงอาทิตย์ในการบอกเวลาแบบหยาบๆ  และปัจจุบันยังใช้วิธีนี้อยู่  บางอาชีพไม่ได้ต้องดูนาฬิกาเพียงอาศัยแสงแดดในการทำงาน  หมดแสงก็หยุดทำงานเช้ามาก็เริ่มทำงาน  การกำหนดเวลาแบบนี้ได้แค่เช้า  สาย  บ่าย  เย็น  โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็นหลักในการบอกเวลา  และใช้บอกได้ตอนกลางวันเท่านั้น  กลางคืนต้องใช้ดวงดาวแทน  การใช้ท้องฟ้าดูนั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่แรกเริ่ม

ยุคนาฬิกา  แดด

ในยุคของกรีก  นานกว่า 2300 ปีมาแล้ว  ใช้แสงแดดจากดวงอาทิตย์และเงามีความสัมพันธ์กันคือ  ตอนเช้าเงาจะมีความยาวมาก  และจะค่อยๆสั้นลงเมื่อใกล้เที่ยงและหลังจากนั้นบ่ายจะเริ่มยาวขึ้นเรื่อยๆ  โดยนาฬิกานี้วัดด้วยการนับเป็นก้าวของเงาที่มีความยาว  โดยชาวกรีกนั้นจะใช้เสาไว้ในหมู่บ้านเพื่อใช้ดูนาฬิกา  และต่อมาชาวบาบิโลนได้ทำการสังเกตจนสามารถระบุจากเงามาเป็นหน่วย  ชั่วโมง  นาที  และวินาทีนั้นเอง  แต่พอตกลางคืนนาฬิกาแดดก็ใช้ไม่ได้และวันที่ไม่มีแดดท้องฟ้าไม่เปิดก็ใช้ไม่ได้เช่นกัน

ยุคนาฬิกาน้ำ

ยุคนาฬิกาน้ำเป็นยุคที่ได้รับการพัฒนามานานและหลายขั้นตอน  และเป็นน้ำจากเดิมใช้สภาพอากาศเป็นการบ่งบอกเวลาไม่ต้องอาศัยธรรมชาติในการบอกเวลาอีกต่อไป  นาฬิกานี้อันที่จริงก็เกิดจากชาวบาบิโลน  ต่อมาชาวรัชเชียมาประยุกต์โดยใช้กาน้ำชา  โดยเติมน้ำให้เต็มทำก็อกให้หลวมๆ พอให้น้ำหยดออกมาได้  พอหมดน้ำก็เติมใหม่พอหมดไป 1 กาก็นับว่า 1 ชั่วโมง  แต่ชาวบาบิโลนนั้นใช้หม้อดินเจาะรู  หม้อดิน 1 หม้อนับเป็นหนึ่งชั่วโมง   นาฬิกานี้สามารถใช้ได้ตลอดทั้งวัน  ทางจีนได้รับความรู้นี้มาและทำการสร้างเพิ่มเดิมด้วยการนำถังทั้งหมด 4 ถัง  แล้วทำการวางเป็นชั้นๆ  ให้เติมน้ำใบแรกเท่านั้น  น้ำก็จะไหลลงไปยังถังที่ต่ำกว่าถัดไปเรื่อยๆ  จนถึงถังสุดท้ายแล้วเติมทั้งแรกใหม่  น้ำที่หมดในหนึ่งถัง  นับ 1 ชั่วโมง
ยังมีการพัฒนาไม่หมดสำหรับนาฬิกาน้ำ  มีการประดิษฐ์ที่เรียกว่า  เคลปโซดรา  มีอุปกรณ์  ถังเล็ก  ถังใหญ่อย่างละ 1 ถัง  และมีอุปกรณ์ที่ใช้ลอยน้ำ  นำน้ำใส่ถังเล็กที่ได้เอาวัตถุลอยน้ำวางไว้  เติมน้ำไปเรื่อยๆ  ใช้วัตถุที่ลอยน้ำในการบอกระดับเวลาว่าเท่าไหร่  ต่อมาใช้หม้อน้ำหรือถังน้ำเจาะรู แต่มีข้อบกพร่องตรงที่ว่าน้ำเยอะน้ำก็จะหยดลงเร็วพอน้ำน้อยน้ำก็จะหยดช้า  จึงออกแบบเป็นกรวยจะทำให้น้ำหยดสม่ำเสมอ

ยุคนาฬิกาทราย

ในการพัฒนาโดยไม่ใช้น้ำ  หลังจากใช้น้ำมานานแสนนาน  นาฬิกาทรายจะสามารถบอกเวลาโดยละเอียด  สามารถบอกเวลาเป็น  ห้านาที  สิบนาทีได้  โดยทำจากทรายละเอียดจากหินอ่อน  ซึ่งสมัยนั้นเป็นการกำหนดเวลาในการหุงต้มอาหารต่างๆ

ยุคนาฬิกาลูกตุ้ม

นาฬิกาลูกตุ้ม  เป็นการใช้ลูกตุ้มทำการถ่วงน้ำหนักให้ลูกล้อทำงาน  ในสมัยนั้นมักติดตั้งวัดต่างๆ  สถานที่ทางศาสนาเพราะพระต้องใช้เวลาในการทำพิธีรกรรมต่างๆเริ่มต้นมีเพียงเข็มบอกชั่วโมงเท่านั้น  และต่อมาใช้ในการตีระฆังเพื่อส่งเสียงบอกเวลาเป็นระยะ  ซึ่งได้มีการประดับทำให้นาฬิกานั้นสวยงามมากขึ้น

นาฬิกาสปริง

และแล้วนาฬิกาแบบพกพาได้กำเนิดขึ้นเมื่อ  ปีเตอร์เฮนไลน์  เป็นช่างซ่อมนาฬิกาได้คิดค้นนาฬิกาใช้สปริงและกลไกลนำมาใช้เป็นนาฬิกาพกพา  แต่ช่วงแรกนั้นทำขึ้นไม่สามารถบอกเวลาได้แม่นยำนัก  ทาสหรัฐอเมริกาได้มีการคิดค้นนาฬิกาที่มีความแม่นยำขึ้นมาและมีความดูดีและราคาสูงขึ้น  ไม่นานมากนักทางประเทศสวิส  ได้มีการก่อตั้งเป็นสมาคมนาฬิกาขึ้นมา  ทำให้นาฬิกาของประเทศนั้นมีการพัฒนาให้มีราคาที่แพงขึ้น  มีความเที่ยงตรงและใช้วัสดุที่มีราคาแงเป็นส่วนประกอบเพื่อความสวยงามและเพิ่มมูลค่า
ในปัจจุบันใช้แบตเตอรี่แทนและมาราคาถูกกว่าเดิมบอกเวลาที่เที่ยงตรงมากขึ้น  จากเข็มใช้เป็นตัวเลขดิจิตอลจึงทำให้มีความแม่นยำมากขึ้นในการบอกเวลาที่ละเอียด  แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังนิยมใช้นาฬิกาแบบเข็มอยู่ดีเพราะว่ามีความสะดวกในการดูและสามารถเป็นเครื่องประดับชั้นดีได้เลย

Sirispace New update