เคล็ดลับซื้อคอนโดตามแนวรถไฟฟ้า


ข่าวสาร admin 5 ก.ค. 2560

1. เน้นเลือกคอนโดฯในทำเลที่โครงการรถไฟฟ้าจะแล้วเสร็จเร็วที่สุด ยิ่งรถไฟฟ้าสร้างเสร็จเร็วเท่าไหร่ ถือว่ายิ่งดีเท่านั้น เพราะนั่นหมายถึงเป้าเวลา ที่ความเจริญจะเข้ามายังพื้นที่บริเวณนั้นได้

2. เลือกทำเลที่ตั้งคอนโดฯ ที่อยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าไม่เกิน 400 เมตร เพราะเป็นระยะที่ทำให้การอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมสะดวกสบาย ไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถ สามารถเดินเท้าไปธุระไหนต่อไหนได้สะดวก และอีกเหตุผลหนึ่งก็สืบเนื่องจากบริเวณสถานีรถไฟฟ้า จะเป็นศูนย์กลางความเจริญที่จะเกิดก่อนเพราะเป็นบริเวณที่คนจะต้องผ่านไปมาในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นตัวเร่งทำให้มูลค่าห้องชุดในแถบนี้สามารถเพิ่มสูงขึ้นได้มากกว่าปกติ

3. เน้นลงทุนในพื้นที่ที่จะมีรถไฟฟ้าผ่านมากสายที่สุด ยิ่งเป็นจุดตัด หรือมีรถไฟฟ้าผ่าน มากสายเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้อาศัยได้มากเท่านั้น ซึ่งจะทำให้พื้นที่บริเวณนั้นมีโอกาสจะเจริญมากกว่าพื้นที่ในบริเวณอื่นๆ

4. ที่ตั้งนอกคำนึงถึงปัจจัยรถไฟฟ้าแล้ว จะต้องพิจารณาปัจจัยเกี่ยวกับถนนด้วยคอนโดฯ ที่เหมาะกับการลงทุน ควรเป็นคอนโดฯ ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลหรือลึกจากถนนหลักมากนัก และควรเป็นถนนที่กว้าง สะดวก และมีรถเมล์ผ่านมากสายที่สุด หากใกล้ทางด่วน และท่าเรือด้วย จะยิ่งเป็นปัจจัยบวกช่วยเสริมทำให้ทำเลที่ตั้งมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ ถือว่าเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัยในห้องชุดได้เป็นอย่างดี

5. เลือกเงื่อนไขการซื้อ โดยเน้นจ่ายเงินจองและดาวน์น้อย ยิ่งจ่ายเงินสดน้อยเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น เพราะเท่ากับใช้เงินลงทุนน้อย ทำให้มีโอกาสทำกำไรได้เพิ่มขึ้น และการใช้เงินน้อย ยังเอื้ออำนวยต่อการลงทุนในลักษณะฟลิปปิ้ง (Flipping)หรือการซื้อและขายทำกำไรอย่างรวดเร็วในช่วงก่อนที่คอนโดฯ จะสร้างเสร็จด้วย

6. พิจารณาคอนโดฯ ใหม่ โดยเปรียบเทียบ กับคอนโดฯ เก่าที่มีอยู่แล้วในพื้นที่เสมอในทางปฏิบัติแล้ว คอนโดฯ เก่า มักมีโอกาสต่อรองซื้อได้ถูกกว่าคอนโดฯใหม่ เนื่องจากต้นทุนในการสร้างและต้นทุนของเจ้าของเดิมไม่สูง และคอนโดฯ เก่าซื้อแล้วยังมีโอกาสมองเห็นสภาพและสภาวะแวดล้อมของโครงการได้ชัดเจนด้วย

7. ตรวจเช็คปัจจัยเรื่องการแข่งขันในอนาคตคอนโดมิเนียมที่ดี นอกจากต้องอยู่ในทำเลที่ดีแล้ว ต้องแน่ใจด้วยว่าทำเลนั้นๆ ในอนาคต จะต้องไม่มีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ หรือถ้ามีโอกาสเกิดขึ้นได้อีก ก็ควรเป็นโครงการ ที่จะมีทำเลด้อยกว่ากันอย่างเด่นชัด สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยที่มองข้ามไม่ได้ เพราะเกี่ยวพันกับการขายและการปล่อยเช่าในอนาคต ซึ่งจะทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่องการแข่งขัน และการถูกตัดราคา

8. คอนโดฯ เตี้ยๆ และยูนิตน้อยๆ จะน่าสนใจกว่าคอนโดฯ สูงๆ และมียูนิต มากๆยิ่งเป็นคอนโดฯที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น เพราะก็จะทำให้ปัญหาในการอยู่อาศัยมีน้อย และการอยู่ในตึกคอนโดฯ ที่ ไม่สูง ผู้อยู่อาศัยยังไม่ต้องเป็นกังวลมากกับ ปัญหาอัคคีภัย และปัญหาแผ่นดินไหว

9. เวลาเลือกห้องชุด ต้องให้ความสำคัญกับทิศที่ตั้ง รวมทั้งทิวทัศน์ที่เป็นมุมมองของห้องชุดด้วย ทิศที่ตั้งของห้องชุด เกี่ยวพันกับแสงแดดและกระแสลม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับอุณหภูมิและความสุขสบายในการอยู่อาศัย ทิศที่ดีที่สุดควรเป็นทิศใต้และทิศเหนือ รองลงมาคือทิศตะวันออก แต่ควรหลีกเลี่ยงทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศอับลม แต่รับแสงอาทิตย์ในช่วงบ่ายและเย็นแรงสุด

10. พิจารณาเลือกห้องชุดในโครงการที่มีที่จอดรถเพียงพอและสะดวก โดยพิจาณาจากจำนวนที่จอดรถเทียบกับจำนวนห้องชุดในโครงการทั้งหมด ว่ามีสัดส่วนมากน้อยอย่างไร และผู้อยู่อาศัยมีทางเลือกที่จะจอดรถในบริเวณอื่นได้หรือไม่

11. ตรวจเช็คและสำรวจตลาดการเช่าห้องพักในบริเวณนั้นและบริเวณใกล้เคียงเสมอ เพื่อดูว่าห้องชุดหรือห้องพักในแถบนั้นเป็นที่ต้องการของผู้เช่ามากน้อยแค่ไหน ลูกค้าที่เช่าส่วนใหญ่เป็นใคร และราคาค่าเช่ามาตรฐานของห้องชุดขนาดเดียวกัน หรือห้องอพาร์ทเม้นท์ในย่านนั้นเช่ากันที่ราคาเท่าไหร่ เพื่อจะได้นำมาเปรียบเทียบกัน หากพบว่ามีห้องว่างอยู่เป็นจำนวนมาก หรือราคาค่าเช่าต่ำ ก็อาจแสดงว่าบริเวณนั้นไม่น่าสนใจ

12. เลือกซื้อห้องชุดที่มีราคาเหมาะสม สามารถทำกำไรในตอนซื้อได้ ปัจจัยตัวสุดท้ายที่จะตัดสินว่าควรลงทุนในห้องชุดนั้น หรือไม่ ก็คือราคาห้องชุดนั่นเอง มีเกณฑ์ง่ายๆ อยู่อันหนึ่ง ที่อาจนำมาประยุกต์เช็คความเหมาะสมหรือความถูกความแพงของห้องชุดได้ค่อนข้างดี นั่นคือใช้อัตราผลตอบแทนค่าเช่ารายปี(Rental Yield)เข้ามาช่วย

 

Sirispace New update