บัตรเเมงมุม เริ่มใช้ ตุลาคม 2560 นี้


ข่าวสาร admin 27 ก.ย. 2560

สนข.ดำเนินงานพัฒนาระบบตั๋วร่วม ในชื่อ “บัตรแมงมุม” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเชื่อมต่อการเดินทางทุกรูปแบบทั้ง ทางด่วน รถเมล์ เรือโดยสาร รถไฟ, รถไฟฟ้า BTS, Airport rail link,  MRT ให้กับประชาชนด้วยบัตรเพียงใบเดียวเเละยังสามารถใช้จ่ายนอกภาคการขนส่ง เช่น ร้านสะดวกซื้ออีกด้วยครับ
    สัดส่วนผู้ถือหุ้นประกอบด้วยภาคเอกชน 60% ได้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เเละ ภาครัฐ 40% ได้เเก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และธนาคารกรุงไทย
นอกจากนี้ ระบบตั๋วร่วมยังได้ออกแบบให้รองรับกับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ(National e-Payment) ของรัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง
ประเภทเเละรูปแบบการใช้งานบัตรเเมงมุม
อัพเดต!! ระยะเวลาเริ่มเปิดให้บริการขนส่งในเเต่ละประเภท (ข้อมูล ณ วันที่  10 เมษายน 2560)

บัตรเเมงมุมเเบ่งประเภทผู้ถือบัตรออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้เเก่

    1. บุคคลทั่วไป  สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป สามารถซื้อบัตรได้ตามจุดจำหน่ายของผู้ให้บริการหรือสถานที่จำหน่ายตัวเเทนผู้ให้บริการ
    2. ลงทะเบียน สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการร่วมใช้สิทธิของบัตรโดยต้องลงทะเบียนเพื่อใส่ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือบัตรเข้าไปในระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลระบุตัวตนเจ้าของบัตร ซึ่งผู้ถือบัตรจะได้รับสิทธิต่างๆตาที่กำหนด เช่น  สามารถเเจ้งระงับการใช้บัตรหรือขอคืนมูลค่าเงินคงเหลือในบัตรได้กรณีบัตรหาย
    3. ส่วนบุคคล ออกเเบบสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานหรือองค์กรเฉพาะเพราะจะมีการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลในระบบเเละในบัตร รวมทั้งจะมีการพิมพ์ลายหรือรูปที่ต้องการลงบนตัวบัตร ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์เป็นเเบบต่างๆได้ เช่นบัตรพนักงาน
ประเภทลงทะเบียนเเละส่วนบุคคลจำเป็นที่ผู้ถือบัตรต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อจัดเก็บในศูนย์บริหารจัดการรายได้กลางสำหรับการใช้ระบุตัวตนในการใช้บริการเพื่อรับสิทธิพิเศษหรือบริการที่กำหนดไว้สำหรับบัตรเเต่ละประเภทครับ เเละในเเต่ละประเภทของผู้ถือบัตรสามารถกำหนดประเภทย่อยของบัตรได้สูงสุดถึง 64 ประเภทด้วยกัน เช่น ประเภทนักเรียน ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้มีรายได้น้อย นักท่องเที่ยว เป็นต้น

รูปเเบบการใช้งานบัตรเเมงมุม สามารถใช้ได้กว้างขวางถึง 4 รูปแบบ คือ

    1. รูปแบบกระเป๋าร่วม ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการใช้งานได้หลากหลายทั้งชำระค่าโดยสารในธุรกิจขนส่งเเละชำระค่าสินค้าร้านค้าปลีก โดยสามารถเติมเงินภายในบัตรได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
    2. รูปแบบเที่ยวการเดินทางร่วม ใช้กับระบบขนส่งที่สามารถตัดค่าโดยสารเป็นเที่ยวได้ ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 รูปแบบ คือ เเบบจำกัดจำนวนเที่ยวเเละวัน เเละ เเบบไม่จำกัดจำนวนเที่ยวเเต่จำกัดจำนวนวัน
    3. รูปแบบเที่ยวการเดินทางเเบบเจาะจงเส้นทาง  เป็นรูปแบบเที่ยวการเดินทางที่กำหนดให้ผู้ใช้งานต้องเข้าเเละออกจากสถานีที่ได้ซื้อไว้เท่านั้น จึงจะได้ราคาส่วนลดในการซื้อ
    4. รูปเเบบผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขาย เป็นรูปแบบที่ผู้ใช้ชำระค่าโดยสารหรือซื้อสินค้าซึ่งจะได้รับเเต้มสะสมเพื่อนำมาเเลกของรางวัลหรือผลิตภัณฑ์
รายงานข่าวแจ้งว่า นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ได้ให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อให้เปิดใช้ระบบตั๋วร่วมได้ตามนโยบายในเดือน มิ.ย.นี้ โดยตามแผนงานนั้นต้องการให้เปิดใช้กับรถไฟฟ้า 4 สายในปัจจุบันก่อนเป็นกลุ่มแรก รวมถึงรถเมล์ และทางด่วน
 
กลุ่มที่ 2 เป็นรถไฟฟ้าสายใหม่ ใช้ได้ทันทีเมื่อเปิดให้บริการ และกลุ่มที่ 3 เป็นระบบนอกภาคขนส่ง เช่น ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ธนาคารต่างๆ ที่ผู้ถือบัตรจะสามารถเข้าไปชำระเงินหรือเติมเงินได้สะดวก โดยได้มีการหารือกับเครือเซ็นทรัลและซีพีเบื้องต้นแล้ว ซึ่งส่วนนี้หากติดระบบจะสามารถใช้งานได้ทันทีเช่นกันแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดการดำเนินการระบบตั๋วร่วมซึ่งมีเป้าหมายต้องการให้เริ่มใช้ได้ในเดือน มิ.ย. 60 นี้ แต่เนื่องจากยังมีการดำเนินการหลายส่วน ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถเปิดใช้ได้ตามเป้าหมาย โดยเฉพาะฝ่ายนโยบายที่ต้องการให้เริ่มใช้กับระบบรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบันเป็นลำดับแรก ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (เฉลิมมหานคร MRT) สายสีม่วง สายสีเขียว (BTS)  เเละแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เนื่องจากการเจรจากับผู้ให้บริการภาคเอกชน 2 ราย คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ในการลงทุนปรับปรุงระบบเดิม ซึ่งต้องใช้เงินรายละกว่า 100 ล้านบาทนั้นยังไม่เรียบร้อย และแม้เอกชนจะยอมรับหลักการและจะเร่งปรับปรุงทางเทคนิคของระบบจากเดิม 15 เดือนให้เร็วขึ้น เป็น 10-12 เดือน ซึ่งตั๋วร่วมจะเริ่มใช้งานได้อย่างเร็วสุดต้นปี 2561

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง และแอร์พอร์ตเรลลิงก์จะเริ่มปรับปรุงระบบได้ก่อนเนื่องจากเป็นของรัฐ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ได้ของบประมาณหน่วยงานละกว่า 100 ล้านบาท และจัดทำร่าง TOR เปิดประมูลหาผู้ปรับปรุงระบบแล้ว โดยคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการปรับปรุงระบบประมาณ 7-8 เดือน ซึ่งจะเร็วกว่า BTS และสายสีน้ำเงิน (MRT) ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จทันในปลายปีนี้
ขณะที่ระบบรถโดยสารประจำทางนั้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้เปิดประมูลเช่าระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมอุปกรณ์ (E-Ticket) วงเงิน 1,786.59 ล้านบาท เพื่อติดตั้งกับรถ 800 คันแล้ว โดยได้เคาะราคาเมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา ใช้เวลาติดตั้งระบบ 6 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จใน ต.ค. 60 และจะขยายการติดตั้งระบบ E-Ticket อีก 2,600 คันในต้นปี 61 ดังนั้น ตั๋วร่วมน่าจะเริ่มใช้งานได้กับรถเมล์เป็นลำดับแรก ซึ่งระบบตั๋วร่วมยังได้ออกแบบให้รองรับระบบการจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) ของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลังได้กำหนดแผนบูรณาการเข้ากับระบบจ่ายเงินสวัสดิการภาครัฐสำหรับพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ให้เริ่มใช้ได้ในเดือน ต.ค. 2560

ความคืบหน้ารถไฟฟ้า 10 เส้นทาง (ข้อมูล ณ วันที่ 20 เมษายน 2560)


Sirispace New update