จากหลักของการกู้ทั่วไปมีอยู่ว่า “ผู้กู้สามารถแบกรับภาระได้ไม่เกิน 40% ของรายได้เท่านั้น”
ซึ่งก็คือหากผู้กู้มีรายได้ 15,000 บาทต่อเดือนจะสามารถผ่อนบ้านเป็นจำนวนเงินได้ 6,000 บาท ที่สำคัญเราต้องไม่มีหนี้สินผ่อนชำระสินค้าอื่น ๆ หากเรามีหนี้สินอื่น ๆ เช่น ผ่อนรถอยู่ เดือนละ 5,000 บาท ก็ทำให้ผู้กู้เหลือความสามารถในการผ่อนบ้านต่อเดือนลดลง (6,000 – 5,000) เหลือเพียง 1,000 บาทต่อเดือนเท่านั้นนะคะ
จะแสดงข้อมูลว่า ถ้าเราสามารถผ่อนบ้านเป็นจำนวนเงินได้ 6,000 บาท จะสามารถกู้ซื้อบ้านได้วงเงินตามนี้ค่ะ
ระยะเวลาในการผ่อนชำระ | วงเงินที่สามารถกู้ได้ |
15 ปี | 647,000 บาท |
20 ปี | 744,000 บาท |
25 ปี | 811,000 บาท |
30 ปี | 858,000 บาท |
35 ปี | 889,000 บาท |
โดยคิดจากอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5
สมมติว่า เราเลือกจะผ่อนชำระที่ 30 ปี จะสามารถกู้ได้ 858,000 บาท ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีโครงการที่ราคาต่ำกว่าล้านอยู่หลายโครงการเลยนะครับ เช่น คอนโดแถบชานเมือง หรือในแถบปริมณฑลก็ยังมีราคาไม่ถึงล้านอยู่เยอะค่ะ หรือถ้าเพื่อน ๆ อยู่ที่ต่างจังหวัดก็ยิ่งมีโครงการราคาต่ำกว่าล้านมากมายครับ หรือถ้าเพื่อน ๆ สนใจเป็นบ้านมือสองก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพราะบ้านมือสองสภาพดีราคาไม่ถึงล้านก็มีอยู่ในตลาดมือสองให้เลือกมากมายค่ะ
ถ้าเพื่อน ๆ มีหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และบัตรผ่อนชำระต่าง ๆ หนี้สินของบัตรต่าง ๆ ตรงนี้จะไปแสดงที่เครดิตบูโรของเราครับ หากเพื่อน ๆ มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดี ไม่ตรงต่อเวลา ผิดนัดจ่ายหนี้กับธนาคาร หรือเบี้ยวหนี้ไม่จ่ายเลย เครดิตบูโรก็จะขึ้น Blacklist ซึ่งหมายความว่า เมื่อเราไปยื่นกู้ซื้อบ้านกับธนาคารแล้วทางธนาคารไปตรวจสอบเครดิตบูโรของเราก็จะเห็น Blacklist ของเรา ซึ่งอาจทำให้เพื่อน ๆ กู้ซื้อบ้านได้ยากขึ้น เพราะธนาคารก็ไม่มั่นใจว่า เราจะจ่ายค่างวดให้เค้าได้หรือไม่ และยังมีอีกกรณีหนึ่งหากเพื่อน ๆ เป็นหนี้บัตรเครดิตเยอะเกินไป ซึ่งหมายความว่าเราไม่ได้ติด Blacklist นะครับ แต่เมื่อธนาคารทำการประเมินรายได้ของเราแล้วปรากฏว่า แค่ยอดที่ต้องชำระในแต่ละเดือนสำหรับบัตรเครดิต บัตรกดเงินสดแต่ละใบของเราในแต่ละเดือน ก็ไม่พอที่จะส่งค่างวดสำหรับสินเชื่อแล้ว แบบนี้ธนาคารก็คงอนุมัติให้ผ่านยากครับ ดังนั้น เพื่อน ๆ ควรทำประวัติเครดิตบูโรของเราให้ดี เช่น ชำระหนี้ให้ตรงต่อเวลา ไม่ผิดนัดจ่ายหนี้ ไม่เป็นหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสดมากเกินไป หรือทางที่ดีที่สุดคือไม่ก่อหนี้เลย เหมือนคำพระที่ว่า “การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ”
ในกรณีที่เพื่อน ๆ อยากจะมีวิมานในฝันที่หลังใหญ่ขึ้นมาหน่อย แต่ลำพังแค่เงินเดือนของเราอาจจะได้ยอดเงินกู้ไม่เพียงพอ เราก็จำเป็นต้องหาผู้กู้ร่วม เพื่อเพิ่มวงเงินกู้ให้มากขึ้นนะคะ ในกรณีที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแต่กู้คนเดียวไม่ผ่านหรือรายได้ไม่พอ การกู้ร่วมก็เป็นทางออกหนึ่งของปัญหาที่นิยมเลือกใช้กันมากค่ะ โดยความหมายของผู้กู้ร่วม หมายถึง ลูกหนี้ร่วม ในทางกฎหมายลูกหนี้ร่วมจะต้องรับผิดชอบหนี้เป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น และในบางสถาบันการเงินจะกำหนดให้ผู้กู้ร่วมต้องมีความสัมพันธ์กับผู้กู้ในฐานะที่เป็นพี่น้องท้องเดียวกันหรือบิดามารดากู้ร่วมกับบุตรและสามีภรรยา หรือถ้าแต่งงานกันแล้วและยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้กู้ร่วมก็ต้องแสดงหลักฐานอื่น ๆ ประกอบ เช่น ทะเบียนบ้านที่แสดงว่าปัจจุบันอยู่ด้วยกัน หรือถ้ามีบุตรก็ต้องแสดงใบเกิดที่ระบุชื่อพ่อแม่
ในการซื้อบ้านแบบการกู้ร่วมสามารถทำได้ 2 แบบ คือ
ซึ่งการกู้ร่วมนั้น สถาบันการเงินจะพิจารณารายได้ของทุกคนที่ขอกู้ร่วม โดยจะหักภาระค่าใช้จ่ายของทุกคน หลังจากนั้นก็ดูว่า เหลือเงินที่จะสามารถผ่อนชำระได้ต่อเดือนเท่าไหร่ แล้วพิจารณาให้สินเชื่อไปตามสัดส่วน ซึ่งจะทำให้เพื่อน ๆ ที่มีผู้กู้ร่วม สามารถกู้วงเงินได้สูงขึ้นมากอีกพอสมควรเลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก :Krungsri Guru